ศรัทธาธรรม ย้ำคำอธิษฐาน จารพระคัมภีร์
การอธิษฐานจิต คือ การตั้งผังสำเร็จขึ้นมาในใจ โดยอาศัยผลของบุญที่ทำในแต่ละครั้งมาเป็นพลวปัจจัยส่งเสริมให้สิ่งที่ตั้งใจไว้ดีแล้วสำเร็จสมปรารถนา เพราะเมื่อประกอบความดีแม้เพียงเล็กน้อย บุญย่อมส่งผลแก่ผู้กระทำไม่ว่าผู้นั้นจะตั้งจิตปรารถนาหรือไม่ก็ตาม แต่หากไม่อธิษฐานจิตกำกับให้ดี
อนุรักษ์คัมภีร์ใบลานไทยรักษาไว้ให้แผ่นดิน
นับแต่การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสงแห่งธรรมของพระบรมศาสดาเป็นประดุจแสงสว่างส่องนำทางชีวิตให้แก่ชาวโลกตลอดมา ภายหลังพุทธปรินิพพาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ทำสังคายนาเพื่อเรียบเรียงพระธรรมวินัยและทรงจำสืบทอดต่อ ๆ กันมาด้วยการท่องจำเรียกว่า “มุขปาฐะ”
อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม
ย้อนไปนานนับพันปี บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา มีพื้นที่ครอบคลุมหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ตลอดจนเขตสิบสองปันนาของจีนและบางส่วนของพม่าและลาว ผู้คนในถิ่นนี้มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง อักษรที่นิยมใช้เขียนวรรณคดีทางโลก คือ อักษรฝักขาม ส่วนอักษรที่นิยมใช้บันทึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ อักษรธรรม จึงเรียกอักษรธรรมที่ใช้ในอาณาจักรล้านนาว่า “อักษรธรรมล้านนา”
รองรับพระธรรม น้อมนำถวาย
พระไตรปิฎกบาลีหรือพระบาลีเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในยุคแรกคำสอนของพระองค์เรียกโดยรวมว่าพระธรรมวินัย ต่อมาในภายหลังจึงแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ หมวด คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๓)
สืบเนื่องจากที่ผู้เขียนและคณะนักวิจัยได้ไปปฏิบัติศาสนกิจล่าสุดที่เมืองลั่วหยาง ณ วัดม้าขาว วัดแห่งแรกในแผ่นดินจีน แล้วเดินทางต่อไปที่เมืองซีอาน (ฉางอาน) มณฑลส่านซี แม้เป็นช่วงค่ำมืด ก็ได้รับน้ำใจจากกัลยาณมิตรที่เคยพบกันเมื่อครั้งที่ประเทศจีนรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ครั้งที่ ๒๗ (๑๔-๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๗) ที่วัดฝ่าเหมินซื่อ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตมณฑลเดียวกัน
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว...ก้าวสู่รัตนโกสินทร์ตอนกลาง
แผ่นดินสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางเริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นยุคที่สยามเปิดประเทศสู่อารยธรรมตะวันตกและเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคทองแห่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์
แผ่นดินที่ ๓ ของกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีถือเป็นยุคทองแห่งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก เนื่องด้วยทรงมีพระราชศรัทธาอย่างมั่นคงในพระพุทธศาสนาทรงรักษาศีล บำเพ็ญทาน บำรุงคณะสงฆ์ สร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามไว้เป็นจำนวนมาก
ทางสายกลางเส้นทางตรัสรู้ของพระพุทธองค์
วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นับเป็นวันสำคัญที่มหาบุรุษ เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรทางจิต ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการดำเนินจิตตามทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชสมัยแห่งการฟื้นฟู
ระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรีทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ทรงฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เพื่อเข้ารับการศึกษาเบื้องต้น ณ สำนักวัดระฆังโฆสิตาราม เดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่
พระมหากษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก ตอน ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์สถาปนาขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ ๑ ทรงย้ายราชธานีจากฝั่งกรุงธนบุรีมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานนามราชธานีแห่งใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ฯ”