สกุณาชาดก ชาดกว่าด้วยที่พึ่งให้โทษ
ในกาลก่อนพระภิกษุเมื่อออกบวชแล้ว ต่างก็มีวิธีในการแสวงธรรมต่างกันออกไป บ้างก็ศึกษาพระธรรมในพระอาราม บ้างก็ในป่าใหญ่ ดังเช่นภิกษุบวชใหม่รูปหนึ่งได้เลือกออกไปปฏิบัติธรรมในป่าแห่งหนึ่ง เมื่อเข้าฤดูแล้งป่าที่เคยชุ่มชื่นก็แห้งแล้งร้อนระอุ เมื่อกิ่งไม้ใบไม้เสียดสีกันมากๆ ก็เกิดเป็นเปลวไฟลุกไหม้ลามมาถึงบรรณศาลาของภิกษุ เมื่อไฟมอดลงบรรณศาลาของภิกษุก็เหลือแต่ซากเถ้าถ่าน ภิกษุจนปัญญาที่จะสร้างศาลาใหม่ได้ จึงออกจากป่าไปขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน
นิทานชาดก 500 ชาติโทษภัยของการพนัน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงทางแห่งความเสื่อมไว้ 6 ประการ หรือที่เรียกว่า อบายมุข 6 คือปากทางแห่งความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ ได้แก่ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตรเเละเกียจคร้านการทำงาน การพนันเป็นหนึ่งใน 6 ข้อ ที่ไม่ว่าบุคคลใดติดเเล้วจะทำให้ชีวิตตกต่ำ หาความเจริญรุ่งเรืองไม่ได้ มีคำกล่าวไว้ว่า โจรปล้น10ครั้ง ยังไม่เท่าไฟไหม้ 1 ครั้ง ไฟไหม้ 10 ครั้ง ยังไม่เท่าผีพนันเข้าสิง เพราะโจรปล้นหรือไฟไหม้อย่างมากเเค่หมดเนื้อหมดตัวเเต่ยังมีที่ดินเหลืออยู่ ทว่าถ้าติดการพนันจนโงหัวไม่ขึ้นเเล้วเเม้เเต่ที่ดิน หรือเเม้กระทั่งชีวิตของตนเองอาจจะรักษาไว้ไม่ได้ การพนันหมายถึง การเล่นชนิดหนึ่ง เพื่อเอาเงินหรือสิ่งของที่มีค่าอื่นๆด้วยการเสี่ยงโชค โดยการทำนาย หรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต
แก้กรรม-รู้ทันวิบากกรรมโทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2
สภาพสังคมที่วุ่นวายในปัจจุบัน ทุกชีวิตแทบจะมีลมหายใจอยู่บนเส้นทางแห่งการแก่งแย่ง แข่งขัน ช่วงชิง ขวักไขว่ เสาะแสวงหาสิ่งที่ตนปรารถนามาครอบครอง แต่ทว่า การได้สิ่งเหล่านั้นมาด้วยความโลภ อยากได้มาเป็นของๆ ตนโดยมิชอบธรรมแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการลักขโมยซึ่งเป็นการผิดศีล 5 ข้อที่ 2 คือมีเจตนาจะขโมยสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้มาเป็นของตนได้สำเร็จ
แก้กรรม-รู้ทันวิบากกรรมโทษภัยของการพูดโกหก ผิดศีลข้อที่ ๔
ความวุ่นวายที่เกิดบนโลก โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการพูดจาโกหก หลอกลวง กลับกลอกกลับไปกลับมา เรามักจะพบเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่เว้นเด็กเว้นผู้ใหญ่ มีหน้าตาฐานะทางสังคมอย่างไรและไม่มีกำแพงชนชาติมากีดกัน ซึ่งมักจะใช้คำสั้น ๆ ว่า “ เด็กเลี้ยงแกะ ” เป็นข้อความที่บ่งชี้ให้เห็นว่าบุคคลนั้น ๆ ที่ถูกประณามเป็นคนพูดโกหก พูดหลอกลวง ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ซึ่งถือว่าผิดศีลห้าในข้อที่ ๔ นั่นเอง ที่มีชื่อว่า มุสาวาท
แก้กรรม-รู้ทันวิบากกรรมสุราปานชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการดื่มสุรา
พวกดาบสดื่มสุราแล้วก็เมามายไม่ได้สติ บางพวกลุกขึ้นฟ้อนรำ บางพวกขับร้อง รุ่งเช้าพอสร่างเมา ฤาษีพากันตื่นเห็นอาการอันวิปปริตของตนนั้น ต่างก็ร้องไห้คร่ำครวญ “ โธ่ พวกเราไม่ได้กระทำอันสมควรแก่บรรพชิตเลย แล้วถ้าอาจารย์รู้จะเสียใจเพียงไร ที่มีศิษย์ทำตัวเยี่ยงนี้ ”
นิทานชาดก 500 ชาติทัพพปุบผาชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน
“ เป็นไงล่ะ ได้แต่ทะเลาะกันอยู่ได้ เห็นไหมส่วนลำตัวเลยกลายเป็นของเจ้าสุนัขจิ้งจอกไปเลย อดหม่ำกันทั้งสองตัวเลยเรา ” “ อดเลยเรา เราทั้งสองไม่น่าทะเลาะกันเลยเนอะ ที่จริงเรามาทานที่ลำตัวด้วยกันก็ได้นี่น่า ” “ นั่นนะสิ ไม่น่าเลย ” “ เพราะเรามาทะเลาะกัน ปลาชิ้นนั้นก็เลยตกเป็นของเข้าสุนัขจิ้งจอกไปเลย เจ็บใจจริง ๆ ไม่น่ามาทะเลาะกันเลย ”
นิทานชาดก 500 ชาติปัพพตูปัตถรชาดก ชาดกว่าด้วยอภัยโทษ
พระเทวีและอำมาตย์ราชองครักษ์ แม้ทั้งสองจะมีใจให้กัน แต่ทุกครั้งที่แอบนัดพบกันนั้น ก็รู้สึกผิดต่อพระเจ้าพรหมทัตไม่น้อย “ ความรักของเรา คงเป็นไปไม่ได้หรอกท่านองครักษ์ เราไม่สามารถทอดทิ้งองค์พระเจ้าอยู่หัวได้ ” “ พระเทวีรู้สึกอย่างไร หม่อมฉันเข้าใจดี แม้แต่หม่อมฉันเองก็ไม่อาจทรยศต่อพระเจ้าพรหมทัตได้
นิทานชาดก 500 ชาติกุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา
“ หม้อใบนี้เป็นหม้อที่มีโทษมาก ผู้ใดดื่มน้ำในหม้อนี้จะเสียผู้เสียคน ควบคุมสติไม่ได้ ทั้งแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม บ้างก็เหมือนคนบ้า บ้างก็ด่าทอทะเลาะวิวาท ด่าบิดามารดา ฆ่าสมณะชีพราหมณ์ได้ น้ำในหม้อใบนี้เป็นน้ำสุรา หากประสงค์จะเห็นความพินาศของตนและบ้านเมือง ก็จงซื้อไปดื่มเถิด ”
นิทานชาดก 500 ชาติ