ต้องคลาดจากกันด้วยแรงอธิษฐาน
เพราะอธิษฐานเอาไว้ว่าขออย่าได้พบเจอกันอีก ทำให้ชาย-หญิงคู่หนึ่ง กว่าจะได้มาพบกัน กว่าจะได้มารักกัน ก็ในช่วงบั้นปลายของชีวิต
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - หมดโศก เพราะหมดอาลัย
ชีวิตในสังสารวัฏนี้ เต็มไปด้วยทุกข์ จับต้นชนปลายไม่ถูก สังสารวัฏนี้กำหนดเบื้องต้น ท่ามกลางและเบื้องปลายไม่ได้ หมู่สัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปมาในสังสารวัฏนี้ ได้เสวยความทุกข์โทมนัสมายาวนาน ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าสูงขึ้น ใหญ่โตกว่าภูเขาที่ตั้งตระหง่านเทียมฟ้า
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - หยุดใจเพื่อให้เป็นไทจากอารมณ์
พระราชาเห็นว่า การเข้าหาสมณะผู้สงบและรับฟังธรรมะจากท่าน คงจะทำให้ใจสงบขึ้นมาได้ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปอารามที่พระนารทเถระจำพรรษาอยู่ พระเถระได้แสดงธรรมให้พระเจ้ามุณฑะว่า "ขอถวายพระพรมหาบพิตร ในโลกนี้มีฐานะอยู่ ๕ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกไม่พึงได้ ฐานะ ๕อย่างนั้นคือ
ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 17
ฤษิณีผู้เป็นมารดา ได้ยกเท้าทั้งสองขึ้นกอดไว้แนบอก แล้วพร่ำรำพันอยู่ว่า “โธ่ พ่อสามะของแม่ เจ้าต้องมานอนเกลือกเปื้อนฝุ่นทราย ถูกทิ้งไว้ในป่าใหญ่ ดุจดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ตกลงสู่ผืนดินเสียแล้ว โลกนี้ช่างไม่ยุติธรรมเสียเลย...พ่อสามะผู้งดงามของแม่ เจ้ามาหลับใหลเหมือนคนเมาสุราไม่ยอมลุกขึ้นสักที เจ้าขัดเคืองใครหรือจึงไม่ยอมพูดจาอะไรกับแม่บ้างเลย”
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๖ ( เชิญพระเวสสันดรกลับพระนคร )
ดูก่อนสุเมธดาบสจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม หม้อน้ำที่ควํ่าแล้ว ย่อมคายน้ำออก ไม่เหลือ ไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแล ทรัพย์ ยศ บุตร ภรรยาหรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการ อยากได้ทั้งหมด แก่ผู้ขอที่มาถึง กระทำมิให้มีส่วนเหลืออยู่ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”
อริยมรรค หนทางสู่ความหลุดพ้น
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความมัวเมา บรรเทาความเศร้าโศก เปลื้องตนให้หลุดพ้นจากสงสาร ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพเถิด
รับมือกับความผิดหวัง
สมหวังผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดา แต่ทั้งที่รู้กันอย่างนี้เมื่อตั้งใจแล้วไม่ได้ดังหวังก็อดไม่ได้ที่จะเศร้าโศกเสียใจ ด้วยความเมตตาของ พระมหา สมชาย ฐานวุฑฺโฒ วันนี้เราจะมารับมือกับความผิดหวังกัน
อย่าให้เกิดอาการน้อยใจ
ผู้ใดละทิ้งคนของตน ทำผู้ที่มาใหม่ให้เป็นที่รักอย่างนี้ ผู้นั้นคนเดียวจะเศร้าโศกมากมาย เหมือนพราหมณ์ธูมการีเศร้าโศกอยู่อย่างนั้น
ผู้ถึงความพินาศ
ผู้ใดเมื่อบุคคลกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำสอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมถึงความพินาศ ย่อมเศร้าโศกเหมือนกาที่ไม่เชื่อฟังคำของนกพิราบ ตกอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู