น้อมใจไว้ในพุทธองค์
เราได้เป็นพระราชาสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในแว่นแคว้น ยินดียิ่งในกรรมของตน นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๘๐ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มียศอนันต์ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ก็ด้วยอานุภาพแห่งพุทธบูชานั้น
พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๒)
พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์ก่อนใคร เป็นผู้มีความเพียรเครื่องก้าวหน้าอย่างแรงกล้า เป็นผู้ได้ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข อันเกิดแต่วิเวกเนืองนิตย์ คุณอันใดที่พระสาวกผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ คุณอันนั้นทุกอย่าง พระอัญญาโกณฑัญญะเถระผู้ไม่ประมาท ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ เป็นผู้มีอานุภาพมาก เป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ฉลาดในเจโตปริยญาณ เป็นธรรมทายาทของพระพุทธองค์ มีปกติกราบไหว้ซึ่งพระบาททั้งสองของพระศาสดา
แก้วมณีไม่มีหมอง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากคนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น
พระธรรมทูตหลังพุทธกาล
ในโลกนี้ ไม่มีใครมาทำให้ใจของเราหวั่นไหวครั่นคร้ามได้ ไม่มีผู้ใดทำให้เราหวาดกลัว ดูก่อนพญานาค แม้หากท่านจะยกแผ่นดินใหญ่ พร้อมทั้งมหาสมุทรและภูเขาหินเข้าใส่เรา เราก็ไม่สะดุ้งกลัว
ตินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยเรื่องอุบายหนีตาย
ในสมัยพุทธกาลองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหารเผยแผ่ธรรมะคำสอนให้แก่เหล่าพุทธสาวกได้ซึมซับในพระธรรมคำสอน ด้วยพระปัญญาบารมีของพระองค์ได้ทำให้เหล่าภิกษุในพระเชตวันต่างรู้สึกเลื่อมใสและเคารพนับถือเป็นยิ่งนัก
ชัยชนะครั้งที่ ๒ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(ตอน ชนะอาฬวกยักษ์)
อายตนนิพพานเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง ต้องเป็นผู้ที่มีใจหยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น จึงจะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง ปัจจุบันแม้หลายท่านจะมีความเห็น
ชัยชนะครั้งที่ 2 (ตอน ชนะอาฬวกยักษ์)
พระจอมมุนีได้ชัยชนะต่ออาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตสันดานหยาบกระด้าง ปราศจากความอดทน มีฤทธิ์มาก ได้เข้ามาต่อสู้จนตลอดทั้งคืน ด้วยวิธีทรมานอย่างดี คือ พระขันติธรรม ด้วยเดชแห่งชัยชนะของพระพุทธเจ้านั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่านเถิด...
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ความทุกข์ในการครองเรือน
อยู่มาวันหนึ่ง เศรษฐีกรุงพาราณสีได้เกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น ด้วยความรักและความคุ้นเคยในพระโพธิสัตว์ว่า "ชื่อว่าการบวชเป็นทุกข์ เรายังปริพาชกชื่อว่า วัจฉนขะ ผู้เป็นสหายของเราให้สึก แล้วแบ่งสมบัติทั้งหมดให้แก่ปริพาชกไปครึ่งหนึ่ง เราทั้งสองก็จักอยู่ด้วยความปรองดองกัน"
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ตบะธรรมชนะกิเลส
ท้าวสักกะทรงดำริว่า “ดาบสนี้มีอานุภาพมากจะทำให้เราเคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจะต้องร่วมมือกับพระเจ้าพาราณสี ทำลายตบะของดาบสนั้นให้ได้” ครั้นเวลาเที่ยงคืน จึงเสด็จไปยังห้องบรรทมของพระเจ้าพาราณสี แสดงอานุภาพของท้าวสักกะ พลางตรัสกับพระราชาว่า
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - อดทนอย่างมีเป้าหมาย
เรายอมให้ลิงเบียดเบียนเรา ดีกว่าเราไปเบียดเบียนลิงตัวนี้ ถึงอย่างไรเราก็ไม่ทำปาณาติบาต เพียงเพื่อให้พ้นจากทุกข์ในปัจจุบัน แต่ไม่อาจพ้นจากทุกข์ในอบาย เพราะการทำปาณาติบาตนั้นอย่างแน่นอน แล้วกระบือ โพธิสัตว์ก็ยังคงประกอบขันติธรรม ยืนสงบนิ่งอยู่เช่นเดิม เป็นผู้มีใจหนักแน่นประดุจภูเขาศิลาแท่งทึบ ที่ไม่หวั่นไหวต่อแรงลมที่พัดมาจากทิศ ทั้ง ๔