ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 42
ครั้นท้าวเธอได้สดับดังนั้น ก็ทรงมีพระราชหฤทัยโสมนัสเปรมปรีด์ เพราะธรรมดาแก้วมณีนั้น ชื่อว่าเป็นของมงคลล้ำค่า และหาได้ยากยิ่ง ท้าวเธอจึงเปล่งพระอุทานขึ้นว่า “โอ...วันนี้ช่างเป็นวันมหามงคลจริงเชียว ไหนล่ะมณีรัตนะ ช่วยนำมาให้เราได้ทัศนาสักทีซิ”
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เลิกตระหนี่ตลอดไป (๑)
บุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต ถ้ามีบุญน้อย อุปสรรคก็มาก ถ้ามีบุญมาก อุปสรรคก็น้อย บุญเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตของพวกเราที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด สร้างบารมีเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งธรรม
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 34
ท่านเสนกะกราบทูล เพื่อจะโน้มน้าวพระหฤทัยของพระเจ้าวิเทหราช ให้ทรงเห็นว่า ตนเป็นผู้รักษาเชิดชูพระอิสริยยศของพระองค์ มิยอมปล่อยให้พระบรมเดชานุภาพถูกดูหมิ่นได้โดยประการทั้งปวง พระเจ้าวิเทหราชทรงนิ่งสดับคำพูดของท่านเสนกะที่ กราบทูลมายืดยาว แต่พระพักตร์นั้นกลับทรงนิ่งเฉย มิได้แสดงพระอาการว่าเข้าพระทัยหรือทรงเห็นด้วยแต่อย่างใด
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 16
มโหสถพิจารณาอยู่ว่า “...ชายเข็ญใจผู้นี้เป็นใครกันแน่ ตาก็ไม่กระพริบ แววตาช่างดูมีอำนาจ ซ้ำยังองอาจ มิได้ครั่นคร้ามต่อสิ่งใด ทั้งที่มายืนอยู่ท่ามกลางมหาชนมากมายถึงเพียงนี้”ทันใดนั้นความคิดหนึ่งก็แวบขึ้นมา “..หรือว่าชายผู้นี้ จะเป็นท้าวสักกเทวราช จอมเทพแห่งดาวดึงส์พิภพจำแลงมา...” แล้วมโหสถจะตัดสินคดีความอย่างไรนั้น
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 15
ในตอนนี้ ท้าวสักกเทวาธิราช จอมเทพผู้เป็นใหญ่ในภพดาวดึงส์ ทรงตรวจตราดูโลกมนุษย์ด้วยทิพยเนตร ทราบว่า พระโพธิสัตว์ซึ่งมาบังเกิดเป็นกุมาร เธอได้นามว่า มโหสถกุมาร บัดนี้เจริญวัยได้ ๗ ขวบแล้ว ท้าวเธอจึงดำริ์ที่จะเสด็จมาเพื่อทดลองปัญญามโหสถบัณฑิต แต่จะทดลองด้วยวิธีใดนั้น
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพาพ้นภัย (๑)
ตัวอย่างของการใช้ปัญญารักษาตัวรอด มีสติปัญญาสามารถนำพาตนให้รอดพ้นภัยพิบัติได้ ดังนั้นปัญญาจึงเป็นรัตนะของนรชนทั้งหลาย โดยเฉพาะปัญญาที่จะช่วยนำพาเรา ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในอบายภูมิ ให้ได้เวียนวนสร้างบารมีอยู่เฉพาะในสุคติภูมิอย่างเดียว
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - พระปัญญาบริสุทธิ์
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต ผู้รู้ ผู้มีปัญญา ต้องดำรงตนเป็นทูตสันติภาพได้ด้วย นอกจากจะมีปฏิภาณที่ยอดเยี่ยมแล้ว ต้องไม่มีอคติความลำเอียง และต้องรู้จักแสวงจุดร่วมสมานจุดต่าง คอยประสานรอยร้าวเหมือนเป็นกาวใจ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๒)
คนพาลทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน แล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ไม่ควรกระทำ ส่วนบุคคลใดทำกรรมใดแล้ว มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้น เป็นความดี ควรทำ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๑)
ครั้นพ่อค้าผู้ไม่มีความผิดถูกประหารชีวิตแล้ว ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้เพียงเล็กน้อย จึงไปบังเกิดเป็นเปรตผู้มีฤทธิ์ มี ม้าอาชาไนยทิพย์สีขาวเป็นยานพาหนะ กลิ่นทิพย์หอมฟุ้งออกจากกาย ด้วยอานิสงส์ของการทำทางด้วยกะโหลกศีรษะโค และการกล่าวสรรเสริญคุณของผู้อื่น แต่กลับต้องเป็นผู้เปลือยกาย เพราะบาปกรรมเพียงเล็กน้อย ที่ได้นำเสื้อผ้าของเพื่อนไปซ่อนด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 6
อาจารย์เสนกะจินตนาการไปไกลว่า “หาก มโหสถกุมารนี้ได้เข้ามาอยู่ในราชสำนักเมื่อใด เราก็คงหมดความสำคัญ แม้พระราชาก็จักทรงลืมเราไปเสียสิ้น ไม่ช้าเราก็จะตกต่ำหมดรัศมี แม้ลาภ ยศ บริวาร และความเป็นใหญ่ก็จะพลอยสูญสิ้น จำเราจะต้องกราบทูลทัดทานไว้ก่อน”