อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ธรรมะเพื่อประชาชนผู้จรรโลงพระพุทธศาสนา
ผู้ใดมีความเชื่อในพระตถาคต ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน ชีวิตของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์
ธรรมะเพื่อประชาชนจงฉลาดในการใช้ทรัพย์
สัตบุรุษผู้ครอบครองทรัพย์ ย่อมเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เทวดาย่อมรักษาเขาผู้อันธรรมคุ้มครองแล้ว เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีล และความประพฤติ เกียรติย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครจะสามารถติเตียนผู้ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัจ มีหิริในใจ เปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดาก็ชื่นชม แม้พรหมก็สรรเสริญ
ธรรมะเพื่อประชาชนหลวงปู่วัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี ผู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติธรรม
หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้มีความเพียรเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ค้นพบวิชชาธรรมกายให้หวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระภิกษุผู้ทำความเพียรอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
มหาปูชนียาจารย์คําบูชาพระรัตนตรัย
คําบูชาพระรัตนตรัย พร้อมคําแปล คําบูชาพระรัตนตรัยโดยพิสดาร คำนมัสการพระรัตนตรัย บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
บทสวดมนต์ผู้ควรประดับดอกไม้ทิพย์
ผู้มีปัญญา เมื่อปรารถนาความสุข ๓ ประการ คือ คำสรรเสริญ ๑ การได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ๑ ละโลกแล้วได้บันเทิงในสวรรค์ ๑ พึงรักษาศีล
ธรรมะเพื่อประชาชนคนมักโกรธย่อมไม่เป็นที่รัก
บุคคลฆ่าความโกรธได้ย่อมอยู่เป็นสุข เมื่อฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธ อันมีรากเป็นพิษมียอดหวาน เพราะบุคคลฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ธรรมะเพื่อประชาชนแสดงตนเมื่อถึงกาลอันควร
การปกปิดตน เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควรเป็นการดี การปกปิดสิ่งที่เป็นความลับเอาไว้ไม่แพร่งพรายเป็นการดี การเปิดเผยความลับบัณฑิตไม่สรรเสริญ เพราะภัยอาจตามมาถึงบุคคลผู้ไร้ปัญญา ไม่รู้จักพิจารณา หาความสำรวมระวังมิได้
ธรรมะเพื่อประชาชนเทพบุตรมาร (๒)
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น สัมผัสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่ารักน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารครอบงำ เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้น มารผู้มีบาปพึงใช้บ่วง ทำตามความปรารถนาไม่ได้
ธรรมะเพื่อประชาชน