พรหมปาริสัชชาภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไปย่อมบังเกิดในพรหมโลก
ปรทัตตูปชีวีเปรต
น้ำฝนตกลงในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่ญาติมิตรให้แล้วจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้น ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้ว จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้น กุลบุตรเมื่อหวนระลึกถึงอุปการคุณ ที่ท่านทำแล้วในกาลก่อนว่า คนโน้นได้ให้สิ่งของแก่เรา คนโน้นได้ทำอุปการคุณแก่เรา ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เราและได้ช่วยทำกิจของเรา พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย
แสนโกฏิจักรวาล
หมู่สัตว์ ๑ อากาศ ๑ จักรวาลไม่มีที่สุด ๑ และพระพุทธญาณอันหาประมาณมิได้ ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้ ใครๆ ไม่อาจรู้ได้
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_5
ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านพึงบำเพ็ญแม้ปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใครๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นคนชั้นล่าง ชั้นกลาง และชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทั้งหมด ไต่ถามปัญหา ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เดินไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก ไม่ละเว้นตระกูลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นตระกูลชั้นไหน ได้อาหารพอยังชีพ ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เข้าไปหาบัณฑิตทั้งปวง ไต่ถามปัญหา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า
พระศาสตราจารย์ มิโตโมะ เคนโยะ
ในทางโลกผมเป็นอาจารย์สอนที่คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยริชโช ประเทศญี่ปุ่นครับ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพระอภิธรรมจากตำรามากว่า 40 ปีแล้ว แต่ในทางธรรมนับแต่วันที่ผมได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
ด้วยจิตที่จะอนุเคราะห์พระราชา พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงถวายพระพรว่า "ธรรมดานักโทษย่อมไม่ยินดีในเรือนจำ มีแต่ดิ้นรนแสวงหาหนทางออกจากเรือนจำนั้นอย่างเดียว ขอพระองค์จงเป็นเช่นนั้นเถิด จงเห็นภพทั้งหมดเหมือนเรือนจำเถิด โลกนี้ถูกความมืด คือ อวิชชา ห่อหุ้มไว้ ตราบใดที่สัตวโลกยังไม่ได้รับแสงสว่างจากพระสัทธรรม เปรียบเสมือนตกอยู่ในคุกมืด..."
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ต่างวิธีการ แต่เป้าหมายเดียวกัน
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงวิธีการทำใจให้สงบไว้ ๔๐วิธี ซึ่งทั้งหมดนั้น เราสามารถเลือกปฏิบัติวิธีการใดวิธีการหนึ่ง สองหรือสามวิธีการพร้อมกันก็ได้ ตามแต่จริตอัธยาศัยของแต่ละคน แต่สุดท้ายก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการความสงบของใจ เมื่อใจรวมหยุดนิ่ง ก็จะดิ่งเข้าสู่กลางภายในตรงศูนย์กลางกายฐานที่๗ และจะได้ตรัสรู้ธรรมไปตามลำดับ
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ผู้ดื่มรสแห่งธรรม
ภิกษุผู้ที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบได้แม้แต่ข้อเดียว จึงนั่งก้มหน้านิ่งอยู่ ส่วนภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมจนเป็นพระอรหันต์ สามารถตอบปัญหาธรรมได้ทุกข้อ อย่างแจ่มแจ้งฉะฉานไม่มีติดขัด พระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญ ชื่นชม อนุโมทนาสาธุการพระเถระ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สอนตน สอนคนให้ถึงธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยอาการ ๓ อย่างด้วยกัน คือ ประการแรก ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ประการที่สอง ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังจะสามารถตรองตามให้เห็นจริงตามที่พระองค์ทรง แสดงได้ และประการสุดท้าย ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้นจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การปฏิบัติ
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 46
แม้ว่าท้าวเธอจะทรงฉงนพระทัยสักเพียงใด แต่ครั้นได้ทรงนึกถึงข้อพิสูจน์ที่มโหสถบัณฑิตค่อยๆเปิดเผยให้ปรากฏเป็นที่ ประจักษ์ก่อนหน้านี้ จึงไม่ทรงคัดค้านสิ่งใดอีก ในที่สุด จึงได้มีรับสั่งกับราชบุรุษผู้หนึ่งว่า “เจ้าจงขึ้นไปดูให้รู้แน่ ว่าบนต้นตาลนั้นมีแก้วมณีอยู่จริงหรือไม่ หากว่าพบแก้วมณีแล้ว ก็จงนำมาให้เราเถิด”