วัดพระธรรมกายนิวเจอร์ซีจัดพิธีอุทิศส่วนกุศล
วัดพระธรรมกายนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดพิธีอุทิศส่วนกุศลแด่หมู่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
กายมนุษย์ ฐานทัพแห่งการสร้างบารมี
ร่างกายของเรานี้มีไว้สร้างบารมีแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีรูปกายใดจะประเสริฐเหมาะสมกับการสร้างบารมีได้เท่ากับกายมนุษย์อีกแล้ว การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก ดังนั้นอย่าใช้ร่างกายมนุษย์นี้ไปทำบาปกรรมใดๆ เลย
ธัมมัสสวนมัย จิตผ่องใสได้ฟังธรรม
“ภิกษุทั้งหลาย เวลาที่ทรงคุณค่าที่บุคคลให้เป็นไปโดยชอบแล้วย่อมทำให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ เวลาที่ทรงคุณค่า 4 อย่าง คือเวลาฟังธรรมตามกาล เวลาสนทนาธรรมตามกาล เวลาทำความสงบของใจและเวลาพิจารณาธรรมให้เกิดความรู้แจ้ง” (ทุติยกาลสูตร)
ธัมมัสสวนมัย ฟังธรรมเป็นนิจจิตแจ่มใส
การฟังธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกชีวิตยิ่งกว่าความรู้ทางโลกที่ร่ำเรียนมา เพราะจะทำให้เกิดดวงปัญญาสว่างไสว สามารถพิจารณาเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ทำให้มีชีวิตอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ปลอดภัยจากอบายภูมิ
ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร (๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้มีวาจาเป็นหนึ่ง เราเป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับเถิด เราจะสั่งสอน จักแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนแล้ว จะได้บรรลุธรรมอันยอดเยี่ยมตามเรา
เป้าหมายสูงสุดของชีวิต
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เรากล่าวว่า เป็นบัณฑิต เพราะการยึดได้ซึ่งประโยชน์ในทิฏฐธรรม และประโยชน์ในสัมปรายภพ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ทรัพย์หมด แต่ไม่หมดศรัทธา)
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ประพฤติกรรมอันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุขของตน ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไป ก็สงบอยู่ได้ ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรัก และความชัง
ธุดงค์ธรรมชัย หลวงปู่ทองคำ
พระเดชพระคุณหลวงปู่คือใคร พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย พระผู้ปราบมาร คือผู้ที่เอาชีวิตเป็นเดิมพันจนได้เข้าถึงพระธรรมกาย ด้วยการตั้งใจปฏิบัติคันถธุระและวิปัสสนาธุระมาโดยต่อเนื่องไม่ขาดเลยตลอด 11 พรรษา และได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า "แม้เลือดเนื้อจะ แห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที ถ้านั่งลงไปแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่ จนตลอดชีวิต” ด้วยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติธรรมครั้งนั้น ทำให้หลวงปู่ได้บรรลุธรรมเข้าถึงพระธรรมกายภายในได้ในที่สุด
เขมาเถรี อัครสาวิกาเบื้องขวา
เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายเหล่านั้นว่า เป็นผู้สงบ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด จึงข้ามพ้นตัณหาไปได้
สุมนสามเณร
บุคคลใดมีสัจจะ มีธรรมะ มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม มีความข่มใจ บุคคลนั้นชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ผู้บริสุทธิ์ ชื่อว่าเป็นเถระ ผู้มั่นคงในธรรม