รักษ์ศาสน์ วาดศิลป์ แผ่นดินสยาม
บรรพชนชาวสยามน้อมรับเอาพระพุทธศาสนามานับถือและรักษาไว้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่าน มากี่ยุคสมัย ผ่านมากี่แผ่นดิน อาณาประชาราษฎร์ล้วนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ พระบรมโพธิสมภารแห่งพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็น “ธรรมราชา” องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ปกครองแผ่นดินโดยธรรมตามหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย...ก้าวไกลสู่เวทีโลก
พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ สืบทอดผ่านการสวดทรงจำโดยเหล่าพุทธสาวก และจารจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกลงในคัมภีร์ใบลาน เมื่อครั้งกระทำสังคายนา ครั้งที่ 5 ราว ๆ ปี พ.ศ. 400 เศษ ณ อาโลกเลณสถาน ประเทศศรีลังกา
พิธีถวายหนังสือพระไตรปิฎก 3 ภาษาและถวายทุนการศึกษาพระนานาชาติ
ผู้แทนคณะกัลยาณมิตรทั่วโลกร่วมถวายหนังสือพระไตริปิฎก 3 ภาษา และถวายทุนการศึกษาพระภิกษุนานาชาติ ณ ศูนย์ฝึกอบรมพุทธบุตรนานาชาติจังหวัดปราจีนบุรี
คัมภีร์ใบลาน : ย้อนวันคืน...ฟื้นรอยจาร
เส้นอักษรบนแผ่นลานเกิดจากเหล็กปลายแหลมที่ช่างจารใช้เขียนเป็นร่องลงใน เนื้อลาน แล้วใช้ลูกประคบแตะเขม่าจากควันไฟที่ติดก้นหม้อดินเผาหรือถ่านหุงข้าว บดละเอียดผสมน้ำมันยางลูบบนหน้าลานจนทั่ว จากนั้นนำทรายร้อนมา “ลบใบลาน” โดยนำทรายละเอียดที่ตากแดดหรือคั่วจนร้อนโรยลงบนหน้าลานนั้น แล้วขัดด้วย ลูกประคบไปทางเดียวกันหลาย ๆ ครั้ง
คัมภีร์ใบลาน ขุมทรัพย์ทางปัญญาของชาวพุทธ
ทีมงานโครงการพระไตรปิฎกวัดพระธรรมกาย จึงนำคัมภีร์ใบลานเหล่านี้ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมในอดีต มาเชื่อมต่อกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโลกยุคปัจจุบัน เพื่อสานต่อไปยังอนาคต ด้วยการใช้กล้องคุณภาพสูงบันทึกหน้าคัมภีร์ใบลานเป็นไฟล์ภาพดิจิทัล เพื่อทำสำเนาสำรองเก็บรักษาเอกสารต้นฉบับ ทำให้ผู้สนใจสามารถศึกษาจากไฟล์ภาพโดยไม่จำเป็นต้องเข้าถึงคัมภีร์ต้นฉบับโดยตรง
สมุดไทย ใบลาน งานศาสน์งามศิลป์
เมื่อครั้งที่อุตสาหกรรมผลิตกระดาษยังไม่เจริญแพร่หลาย ผู้คนสมัยโบราณได้ใช้การเขียน บันทึกลงบนวัสดุต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นจารึกบนแผ่นศิลา เปลือกไม้หรือภาชนะดินเผา แม้วัสดุดังกล่าวจะคงทนถาวร แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องน้ำหนักของวัสดุ ขนาดเนื้อที่ และความยากในการจารจารึก...
จดจำ จรดจาร
บัณฑิตทางพระพุทธศาสนา หมายถึง บุคคลผู้ทรงความรู้ มีจิตใจที่งดงาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง การเป็นบัณฑิตที่แท้ได้ต้องมีธรรมะเป็นพื้นฐาน โดยอาศัยแนวทางจากหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน
ประมวลภาพงานสัมมนา "หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ"
ประมวลภาพงานสัมมนา "หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ" บูชา 70 ปี พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระเทพญาณมหามุนี วิ. วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557 ณ ศูนย์ประชุม เอ ไอ ที (AIT Conference Center)
เตรียมแผ่นลาน จารพระธรรม
ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับสั่งกับพระอานนท์พุทธอุปัฎฐากว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้เป็นพระศาสดาปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจากพระองค์ แต่ทรงให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอน เป็นศาสดาแทนพระองค์ต่อไปในกาลภายหน้า
พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ)
ประวัติพระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย