มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ทางรอดจากสังสารวัฏ
ทันทีที่ พระราชาบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นผมหงอกบนฝ่าพระหัตถ์ ทรงสลดพระทัยพลางสอนตนเองว่า "ดูก่อนเจ้าสุสีมะ บัดนี้เวลาของชีวิตเจ้าล่วงเลยมามากแล้ว การอยู่ครองเรือนตกอยู่ในอำนาจของกิเลสอาสวะเช่นนี้ ไม่ใช่ทางรอดของชีวิต การบรรพชามุ่งทำความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นทางรอดจากสังสารวัฏได้ ถึงเวลาที่เจ้าจะต้องประพฤติพรหมจรรย์แล้ว"
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ตบะธรรมชนะกิเลส
ท้าวสักกะทรงดำริว่า “ดาบสนี้มีอานุภาพมากจะทำให้เราเคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจะต้องร่วมมือกับพระเจ้าพาราณสี ทำลายตบะของดาบสนั้นให้ได้” ครั้นเวลาเที่ยงคืน จึงเสด็จไปยังห้องบรรทมของพระเจ้าพาราณสี แสดงอานุภาพของท้าวสักกะ พลางตรัสกับพระราชาว่า
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - พรรษาแห่งการบรรลุธรรม
แม้ดวงตาภายนอกจะมืดบอด แต่ตาภายใน คือ ธรรมจักษุของท่านนั้น สว่างไสวยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน เป็นแสงสว่างที่นำมาซึ่งความสุข ความบริสุทธิ์ และความรู้แจ้งในธรรมทั้งหลาย แทงตลอดในนิพพาน ภพสาม โลกันตร์ อีกทั้งในพรรษานั้น ท่านยังได้สั่งสอนลูกศิษย์และพุทธบริษัทให้ได้บรรลุธรรมกันมากมาย
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ละวางเบญจกามคุณ
โสณกะได้ยินเสียงดนตรี ก็รู้เหตุการณ์โดยตลอด จึงรีบหลบเข้าไปในที่กำบัง ปุโรหิตได้ให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรี เพื่อเฉลิมฉลองพระราชาองค์ใหม่ และกราบทูลถวายพระราชสมบัติ พร้อมทั้งอภิเษกพระโพธิสัตว์ให้เป็นพระราชา ณ ที่อุทยานนั้นเอง เมื่อเสด็จเข้าสู่พระราชวังพร้อมด้วยอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ ทรงลืมโสณกะผู้เป็นพระสหายอย่างสนิท
หนุ่มเนปาลนั่งบำเพ็ญเพียรได้ปรากฎตัวมาแล้ว
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ทาน คือ ชีวิต
อย่างไรก็ตาม ตายเร็วตายช้าก็ไม่ได้เป็นเครื่องวัดความมีโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องดูตัดสินขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าได้สั่งสมบุญกุศลใดบ้าง และมองไหลไปถึงชีวิตหลังความตายได้ว่า ตายแล้วไปไหน มีสุคติหรือทุคติเป็นที่ไป เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว ต้องไม่ประมาทในวัยและชีวิต ด้วยการหมั่นหาโอกาสสั่งสมบุญให้มากที่สุด ก่อนที่ความตายจะมาถึง
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ทำอย่างไรได้อย่างนั้น
บางคนมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง คิด ว่าบุญบาปไม่มี เพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จึงไม่เชื่อเรื่องบุญกุศล แต่ผู้รู้ทั้งหลาย ได้พิสูจน์แล้วว่า บุญบาปมีจริง เป็นของละเอียดที่รู้เห็นได้ด้วยธรรมกายเท่านั้น สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งเกินกว่าวิสัยของปุถุชนจะคิดเองได้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เป็นอจินไตย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ อย่างนี้ ไม่ควรคิด ผู้ใดคิด ผู้นั้นพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า"
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ให้ทานอย่างสัตบุรุษ
ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ผลนั้นจะอำนวยให้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากและเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส คนรับใช้หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับรับคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ภรรยาสามีไม่นอกใจซึ่งกันและกัน ข้าทาสบริวารก็ไม่คดโกง ตั้งใจดูแลทรัพย์สมบัติของเจ้านาย เหมือนเป็นของของตนเอง
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - สังฆทานประเสริฐกว่าปาฏิปุคคลิกทาน
ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ ก็ต้องถูกตำหนิเหมือนกัน ส่วนภิกษุใดแม้จะพำนักอยู่ที่วัดใกล้บ้าน ไม่ได้เป็นผู้บิณฑบาตเป็นวัตร ไม่ได้สมาทานธุดงควัตร ไม่ได้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน สำรวมอินทรีย์ มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ ก็สมควรได้รับการสรรเสริญ ภิกษุรูปนั้นเป็นทักขิไณยบุคคลอันเยี่ยม