ที่พึ่งที่แท้จริง
จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่
สรณะอันเกษม
มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง สรณะนั่นแลไม่เกษม สรณะนั่นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม สรณะนั่นอุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
วิสาขามหาอุบาสิกา (พรอันประเสริฐ)
สตรีใดให้ข้าวและน้ำ มีใจเบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นสาวิกาของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่แล้ว บริจาคทาน อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทาความโศก นำมาซึ่งความสุข สตรีนั้น อาศัยมรรคปฏิบัติ ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ย่อมได้กำลัง และอายุทิพย์ สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมีสุข สมบูรณ์ด้วยพลานามัย ย่อมปลื้มใจในสวรรค์สิ้นกาลนาน
มหาเศรษฐีกากวฬิยะ
ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อยที่บุคคลบางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น ย่อมนำเขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ให้ผลในภพปัจจุบัน
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๒)
การให้ทาน เป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทาน เป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว
เล่าเรื่องคุณยาย ตอน วิธีต่ออายุพระพุทธศาสนาของคุณยาย
หลวงพ่อครับ...ช่วงนี้กระผมเห็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อเล่าเรื่องคุณยาย พอผมฟังแล้วก็ทำให้อดนึกถึงคุณยายไม่ได้ เนื่องจากคุณยายท่านมีพระคุณกับผมมาก เพราะสมัยที่ผมตัดสินใจบวชใหม่ๆ ก็คิดว่า..อยากบวชไปตลอดชีวิต แต่ลึกๆ ก็ไม่รู้ว่าจะทำได้รึเปล่า จึงคิดแค่ว่า..จะบวชให้นานที่สุดแล้วกัน และระหว่างที่บวชก็จะช่วยงานอย่างเต็มที่เต็มกำลัง ซึ่งก็จริงๆ ครับ
จดหมายจากลูกหลานคุณยาย ตอน ประเดิมทำบุญ ฉลองความสำเร็จ 3 วาระ
พิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
“ถ้าไม่มีคุณยาย ก็ไม่มีหลวงพ่อ ถ้าไม่มีหลวงพ่อ ก็ไม่มีวัดพระธรรมกาย” จากคำกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า คุณยายมีคุณูปการอย่างสูงสุดต่อวัดพระธรรมกายและลูกหลาน จำนวนนับล้าน ๆ ที่ต่างหลั่งไหลตามมาสร้างบุญสร้างบารมีจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน
เขมาเถรี อัครสาวิกาเบื้องขวา
เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายเหล่านั้นว่า เป็นผู้สงบ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด จึงข้ามพ้นตัณหาไปได้
พระนันทกเถระ (๑)
ความเคลือบแคลงสงสัยของหมู่ชน ย่อมไม่มีในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ว่าพระจันทร์จะพร่องหรือเต็มก็ตาม แต่พระจันทร์ก็คงเต็มดวง ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น มีความชื่นชมยินดีต่อการแสดงธรรมของพระนันทกะ และมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ก็ฉันนั้น