ทศชาติชาดก เรื่องสุวรรณสาม ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี ตอนที่ 17
ฤษิณีผู้เป็นมารดา ได้ยกเท้าทั้งสองขึ้นกอดไว้แนบอก แล้วพร่ำรำพันอยู่ว่า “โธ่ พ่อสามะของแม่ เจ้าต้องมานอนเกลือกเปื้อนฝุ่นทราย ถูกทิ้งไว้ในป่าใหญ่ ดุจดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ตกลงสู่ผืนดินเสียแล้ว โลกนี้ช่างไม่ยุติธรรมเสียเลย...พ่อสามะผู้งดงามของแม่ เจ้ามาหลับใหลเหมือนคนเมาสุราไม่ยอมลุกขึ้นสักที เจ้าขัดเคืองใครหรือจึงไม่ยอมพูดจาอะไรกับแม่บ้างเลย”
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๖ ( เชิญพระเวสสันดรกลับพระนคร )
ดูก่อนสุเมธดาบสจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม หม้อน้ำที่ควํ่าแล้ว ย่อมคายน้ำออก ไม่เหลือ ไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแล ทรัพย์ ยศ บุตร ภรรยาหรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการ อยากได้ทั้งหมด แก่ผู้ขอที่มาถึง กระทำมิให้มีส่วนเหลืออยู่ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”
อริยมรรค หนทางสู่ความหลุดพ้น
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความมัวเมา บรรเทาความเศร้าโศก เปลื้องตนให้หลุดพ้นจากสงสาร ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพเถิด
พระเจดีย์จุฬามณี
ใครๆ ไม่อาจนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกทั้งหลาย ผู้ก้าวล่วงปปัญจธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้มีความเศร้าโศก และความคร่ำครวญอันข้ามพ้นแล้ว หรือว่าของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชาเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ด้วยการนับแม้วิธีใดๆ ก็ตาม ว่าบุญนี้มีประมาณเท่าใด
ทำไมต้องอุทิศส่วนกุศล
ผ้านั้นถึงจะให้ที่มือของฉันเองก็ไม่สำเร็จแก่ดิฉัน ถ้ามีอุบาสก ขอท่านจงให้อุบาสกนั้นนุ่งห่มผ้าที่จะให้ดิฉัน เมื่อทำอย่างนั้นดิฉันจึงจะได้นุ่งห่มผ้านี้ตามปราถนา
ความหลากหลายของเปรต (๑)
การร้องไห้ก็ดี ความเศร้าโศกก็ดี การพิไรร่ำไรก็ดี บุคคลไม่ควรทำเลย เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายก็คงดำรงอยู่อย่างนั้น ทักษิณาทานที่ให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ชนผู้ล่วงลับไปโดยพลันสิ้นกาลนาน
The Noble Truth of Suffering : 6. Lamentation [parideva dukkha]
The Buddha characterized this form of suffering as that which produces tears of anguish whenever we are unable to give up our attachment to something
อานิสงส์ถวายหม้อน้ำหอม
เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ภพของเรา ๗ ชั้น สูงสุดน่าหวาดเสียว นางเทพกัญญา ๑ แสน แวดล้อมเราเสมอ ความป่วยไข้ไม่มีแก่เรา ความเศร้าโศกไม่มีแก่เรา เราไม่เห็นความเดือดร้อนเลย นี้เป็นผลของการถวายหม้อน้ำหอมเป็นพุทธบูชา
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - โมฆะของชีวิต
ด้วยหัวใจยอดกัลยาณมิตร ปรารถนาที่จะให้ฤๅษีหักห้ามความเศร้าโศกให้ได้ จึงตรัสว่า "สัตว์ทั้งหลายมีมากมายที่ร้องไห้ถึงคนที่ตายไปแล้ว แต่ท่านรู้ไหม การร้องไห้เศร้าโศกนั้น สัตบุรุษกล่าวว่า เป็นโมฆะของชีวิต ทำให้ชีวิตและจิตใจมัวหมอง หากท่านปรารถนาที่จะให้ใจผ่องใส จงหักห้ามความโศกเถิด"