ธรรมกาย ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทยุคต้น
“ธรรมกาย” เป็นคำที่คุ้นเคยกันดีในหมู่ชาวพุทธ แต่ความหมายของธรรมกายในใจของชาวพุทธแต่ละกลุ่มอาจไม่เหมือนกัน เมื่อความเข้าใจเรื่องธรรมกายในหมู่ชาวพุทธแตกต่างกันอย่างนี้ จึงน่าศึกษาว่า คำว่า “ธรรมกาย” ในคำสอนเก่าแก่ที่เก็บรักษาไว้โดยชาวพุทธในแต่ละท้องถิ่นนั้นเป็นอย่างไร....
The Dhammakaya
Dhammakaya are both the proper name and the proper state of mind that’s well polished by practicing meditation.
ตามเห็นกายในกาย
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิดแล้ว รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ส่วนพระธรรมกายอันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนม อันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือ พระสัทธรรมอันสงบ ระงับความกระหายทุกอย่าง พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว
ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย ตอนที่ 2
นอกจากธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ในพระไตรปิฎกบาลียังกล่าวถึงธรรมกายของพระพุทธสาวกด้วยดังที่ปรากฏในมหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน อันเป็นถ้อยคำที่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีกราบทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเสด็จปรินิพพาน
ความหมายของกายในคำว่าธรรมกาย
คำว่า ธรรมกาย เป็นศัพท์สมาส ที่อาจแปลเป็นคำคุณศัพท์ว่า ผู้มีธรรมเป็นกาย หรืออาจแปลเป็นคำนามก็ได้ว่า กายแห่งธรรม กายคือธรรมหรือ กายที่ประกอบด้วยธรรม
ความหมายของ ธรรม ในคำว่า ธรรมกาย
ธรรม ในคำว่าธรรมกาย ที่เป็นพระนามหนึ่งของพระตถาคตนั้นจึงควรหมายถึง โลกุตตรธรรม คือ มรรค ผลนิพพาน ที่เมื่อเข้าถึงแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงปุถุชนให้เป็นอริยบุคคล และเปลี่ยนอริยบุคคลชั้นต้นให้เป็นอริยบุคคลเบื้องสูงขึ้นไปได้นั่นเอง