พระเจดีย์จุฬามณี
ใครๆ ไม่อาจนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกทั้งหลาย ผู้ก้าวล่วงปปัญจธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ผู้มีความเศร้าโศก และความคร่ำครวญอันข้ามพ้นแล้ว หรือว่าของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชาเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ด้วยการนับแม้วิธีใดๆ ก็ตาม ว่าบุญนี้มีประมาณเท่าใด
กระแสแห่งกรรม (๑)
ผู้ใดเมื่อถูกกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำสอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก เหมือนมิตตพินทุกะจับเท้าแพะเศร้าโศกอยู่ฉะนั้น
ปัจจัยในการบรรลุธรรม
การฝึกจิตที่บุคคลข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติแล่นไปเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความปรารถนา เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำความสุขมาให้
เส้นทางมหาปูชนียาจารย์
เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ คือ เส้นทางของสถานที่สำคัญ 6 แห่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
อานิสงส์สร้างที่จงกรม
รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง จักปรากฏแก่ท่านผู้นั้น ผู้พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม ในเวลาใกล้จะละโลก ผู้นั้นจักไปสู่เทวโลกด้วยยานนั้น เทวดาทั้งหลายจักพลอยบันเทิง ในเมื่อผู้นี้ไปถึงภพอันดี วิมานอันควรค่ามาก เป็นวิมานประเสริฐ ฉาบทาด้วยเครื่องทาอันสำเร็จด้วยรัตนะ
อานิสงส์สร้างมณฑปเป็นพุทธบูชา
พระศาสดาได้เสด็จไปที่มณฑปนั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ดีแล้ว กุลธิดาได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า อังคาสด้วยของเคี้ยวของบริโภคอย่างประณีต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่เธอ
อานิสงส์ทำอัญชลีบูชา
เราเป็นไข้หนักนั่งอยู่ที่โคนไม้ในป่าชัฏใหญ่ เป็นผู้ควรได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง พระศาสดาพระนามว่า ติสสะ ทรงอนุเคราะห์ เสด็จมาหาเรา เรานั้นนอนอยู่ ได้ประณมอัญชลีเหนือเศียรเกล้า เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ แล้วได้ทำกาละ ณ ที่นั้น ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
อานิสงส์ถวายน้ำดื่มแด่พระสงฆ์
ดิฉันได้พบพระภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้รับความลำบากกาย กระหายนํ้าจึงขวนขวายถวายนํ้าดื่มกับท่าน ผู้ใดก็ตามที่ถวายนํ้าดื่มกับภิกษุทั้งหลายผู้กระหายนํ้า แม่นํ้าทิพย์หลายสายที่สวยงาม ดารดาษด้วยดอกไม้อันเป็นทิพย์ มีนํ้าใสเย็นก็จะบังเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ผู้ที่ได้ทำบุญไว้ดีแล้วย่อมได้มหาวิมานอันประเสริฐ สง่างาม นี้เป็นผลแห่งกรรมดีที่ดิฉันสร้าง
มหาโควินทสูตรตอนที่ ๕ (พบมหาพรหม)
บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น
ชัยชนะครั้งที่ ๖ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตอนที่ ๖ ชนะสัจจกนิครนถ์)
ความสุขหรือความทุกข์ที่ทุกคนได้รับในปัจจุบันชาติ ล้วนเป็นผลมาจากกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตชาติ ผู้ที่สามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ดี มีเพียงพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ และผู้มีรู้มีญาณเท่านั้น