ศูนย์การศึกษาเขาแก้วเสด็จ-ทันโลกทันธรรม
จากพื้นดินทุรกันดาน จากทุ่งหญ้าคาและป่ากก สู่พื้นแผ่นดินแห่งความสว่างไสว สะพรั่งไปด้วยสีทองของเหล่าผ้ากาสาวพัสตร์ของเหล่าพุทธบุตร เป็นศาสนสถานที่โอบล้อมไปด้วยขุนเขา เปลี่ยนเหมือนพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ โอบล้อมเนื้อที่หลายพันไร่ เป็นสถานที่ที่ใช้สร้างศาสนทายาทแห่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ประโยชน์ของการสร้างวัดใหญ่
ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมะทีละเรื่องและทยอยบัญญัติพระวินัยทีละสิกขาบทเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ในยุคนั้นไม่มีวิทยุ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มีการพิมพ์หนังสือ แล้วคณะสงฆ์ซึ่งกระจายตัวอยู่ตามท้องถิ่นต่างๆ อย่างกว้างขวางทั่วอินเดีย จะรู้ได้อย่างไรว่าขณะนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นใหม่อีกกี่สิกขาบทแล้ว และถ้าไม่รู้ ถือพระวินัยไม่เท่ากันสวดปาฏิโมกข์ก็มีสิกขาบทไม่เท่ากัน คณะสงฆ์ก็ย่อมขาดเอกภาพ
วัดพระธรรมกาย ชมวัดพระธรรมกาย แผนที่วัดพระธรรมกาย
ชมวัดพระธรรมกาย สถานที่ต่างๆ ภายในวัดพระธรรมกาย วัดพระธรรมกายสร้างขึ้นภายใต้แนวคิด “สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และสร้างคนให้เป็นคนดี” ตามหลักปฏิรูปเทส 4 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วัดพระธรรมกาย จากวันวานถึงวันนี้
วัดพระธรรมกาย เติบใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนกระทั่งพื้นที่ ๑๙๖ ไร่ คับแคบลง จึงขยายพื้นที่ออกไปอีก ๒,๐๐๐ ไร่ เพื่อรองรับการขยายงานพระศาสนาในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและสังคมไทย
ขุนเขาแห่งตำนานและประวัติศาสตร์แห่งเขาแก้วเสด็จ
คืนพระจันทร์วันเพ็ญลอยดวงเด่นเหนือท้องฟ้า ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งต่างจ้องมองและสังเกตว่า มีดวงแก้วดวงหนึ่งส่องรัศมีสว่างไสวดุจดังพระจันทร์วันเพ็ญ ดวงแก้วนั้นเคลื่อนคล้อยลอยมาจากปลายด้านหนึ่งของหุบเขา และลับหายไปในความมืด เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนชาวบ้านขนานนามภูเขาแห่งนี้ว่า “เขาแก้วเสด็จ” ขุนเขาแห่งดวงแก้วที่จะเสด็จมาทุกคืนวันเพ็ญ