มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - สิ่งที่พึงพิจารณาบ่อยๆ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธ ประสงค์ให้พุทธบริษัททั้งหลาย หมั่นเจริญมรณานุสติอยู่เนืองๆ ชนิดทุกลมหายใจ เข้าออก เพราะชีวิตมนุษย์นั้นสั้นยาว เพียงแค่ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกเท่านั้น ไม่ได้ยืนยาวอย่างที่เรานึกคิดกันเอง การพิจารณาถึงความตายนี้ เป็นสิ่งที่พวกเราต้องพิจารณาโดยแยบคาย พิจารณาบ่อยๆ
มารผู้ขัดขวางความดี
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งสิ้น นี้เป็นโลกามิส อันแรงกล้า โลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เหล่านี้ ส่วนสาวกของพระพุทธเจ้า มีสติก้าวล่วงโลกามิสนั้น และก้าวล่วงบ่วงมารแล้ว รุ่งเรืองอยู่ดุจพระอาทิตย์ ฉะนั้น
พระมหากัปปินเถระ
บุคคล ผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิต ย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า ประกาศแล้วทุกเมื่อ
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ถึงเวลาแล้ว
พระราชาทอดพระเนตรผมหงอกของตน ทรงสลดพระทัยในความเสื่อมของสังขารร่างกาย จึงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทรงพระราชทานรางวัลให้ช่างกัลบก และประทานโอวาทแก่พระโอรสว่า "ลูกรัก ผมหงอกเส้นนี้ เสมือนเทวทูตมายืนอยู่ตรงหน้าของพ่อ พ่อได้รับความสุข จากสิริราชสมบัติมามากพอแล้ว ถึงเวลาที่ต้องออกแสวงหาความสุขภายในอันเป็นอมตะ
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง - ขยันถูกเวลานำพาสู่ความสำเร็จ
วันเวลาที่ผ่านไป ได้นำเอาความชรามาสู่เรา ชีวิตมนุษย์มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และในที่สุดก็เสื่อมสลายไป สิ่งต่างๆ ในโลก ไม่ว่าจะเป็นบุตร ธิดา ทรัพย์สินเงินทอง ญาติพี่น้อง ล้วนไม่อาจติดตามเราไปสู่ปรโลกได้ มีแต่กุศลผลบุญที่เราสั่งสมไว้ดีแล้วเท่านั้น ที่จะเป็นดังเงาติดตามตัวเราไป ดังนั้นเราทั้งหลาย ต้องตระหนักและแสวงหาหลักของชีวิต ด้วยการสั่งสมบุญบารมีให้เต็มที่ เพราะโอกาสนี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของพวกเราที่ได้เกิดเป็นมนุษย์
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๖ )
พระราชาสดับเช่นนั้น ทรงปฏิเสธทันทีว่า "ลูก เอาทรัพย์ไปใช้เช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์เลย เลิกให้ทานเถิดลูก ลูกควรจะนำทรัพย์ที่พ่อจะให้นี้ ไปใช้จ่ายเที่ยวเล่นสนุกสนานให้เต็มที่ ไม่ต้องไปคิดถึงใคร และภพชาติต่อไปก็อย่าไปกังวล ลูกจงเก็บเกี่ยวความสุขในชาตินี้ให้เต็มที่เถิด"